วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความรู้ที่ได้รับในการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

จากการเรียนวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารในครั้งนี้
ประการแรก ได้รับความรู้
เรื่อง - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา
- การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
- เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง และเทคโนโลยีสมัยใหม่
- ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
- การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
- คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันการศึกษาในอนาคต
ประการที่สอง - ได้ความรู้ใหม่ๆ จากที่สนใจเกี่ยวกับอิเทอร์เน็ตน้อยมาก ทำให้มีความกระตือรือร้นที่จะต้องต้องศึกษา ต้องฝึกทำ เรียนรู้ เพื่อที่จะต้องทำให้ได้มีงานที่จะต้องส่งอาจารย์
- ได้เพื่อนใหม่ๆ ซึ่งเราไม่เคยรู้จักมาก่อนแต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องช่วยกันทุกคนก็ช่วยเหลือกันอย่างเต็มใจ ได้มีโลกที่กว้างขึ้นและได้ใช้สิ่งที่เรียนมาในการติดต่อสื่อสารกัน
ประการสุดท้าย - ขอขอบคุณอาจารย์มากคะที่ทำให้ รู้สึกที่จะอยากเรียน อยากทำในสิ่งที่ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ และเคยทราบมาว่าอาจารย์ดุ แต่พอมาเรียนอาจารย์ไม่ดุนะแต่รู้สึกว่าอาจารย์สอนสนุกดี ด่าบ้าง ว่าบ้าง แต่ก็ได้ความรู้ซึ่งผู้รับคนนี้อาจรับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ /2

สรุปเนื้อหาบทที่ 3-6
บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น จึงต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องรู้จักการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้กับองค์กรให้เจริญก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนการแข่งขันในสังคม ผู้บริหารนอกจากมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์แล้วต้องมีข้อมูลสารสนเทศที่พร้อมใช้งานตลอดเวลาซึ่งต้องมีคุณภาพเพื่อพัฒนา ช่วยในการตัดสินใจการบริหารงานขององค์กร ด้านกาบริหารงานถ้าผู้บริหารตัดสินใจถูกต้องจะทำให้องค์กรเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า แต่ถ้าตัดสินใจพลาดจะมีผลกระทบต่อทุกคนในองค์กร
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจมีดังนี้ 1. TPS เป็นกระบวนการเริ่มต้นในการผลิตข้อมูลต่าง ๆ เป็นการทำงานเฉพาะทาง เป็นองค์กรย่อย ๆ(ส่วนตัว) มีการจัดเก็บข้อมูล แยกข้อมูลใช้ในระบบผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการทำรายงานตามความต้องการของผู้บริหาร 2. MLS เป็นระบบดำเนินงาน การตัดสินใจและมีข้อมูลที่หลากหลาย เป็นการทำงานร่วมกันระบบสารสนเทศ MLS และ TPS นำมาเป็นรายงานพิเศษใช้ในผู้บริหารงานระบบการวางแผน 3. OLS เป็นระบบการจัดการเอกสารและข้อมูลต่าง ๆในองค์กรระหว่างองค์กรและสำนักงานเป็นศูนย์รวมข้อมูลต่าง ๆ
4. DSS เป็นระบบสำหรับช่วยในการบริหารช่วยในการตัดสินใจเฉพาะทาง 5. ESS เป็นระบบสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจข้อมูลจะเข้าใจง่ายโดยผ่านกระบวนการที่ทันสมัย
บทที่4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ปัจจุบันมีการแข่งขันกันมาก เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆทั้งด้านธุรกิจและในองค์กรต่างๆซึ่งมีความรุนแรงขึ้นทุกวัน นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่แข่งขันกันเองทางธุรกิจที่ขับเคลื่อนกันทางทางด้านการลงทุนกันทุกวันนี้ และผู้ที่มีความรู้หรือนักวิจัย ได้ใช้ข้อมูลจากการจัดเก็บสารสนเทศและเมื่อสะสมสารสนเทศมากขึ้นเรื่อยๆจะได้ความรู้ใหม่ๆ (Knowledge) คือ ทุนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงสุดที่พัฒนาเป็นสังคมความรู้ (Knowedge Society) เป็นองค์ความรู้ของมนุษย์ที่ถูกที่ถูกถ่ายทอดในกระบวนการต่าง ๆโดยมีผู้เชียวชาญหลาย ๆ คนและมีการจัดการความรู้โดยการนำความรู้จากบุคคลต่าง ๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ โดยสารสนเทศเหล่านั้นสามารถสืบค้นจัดเก็บและแลกเปลี่ยนทำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดในการทำงานและระบบการแข่งขันกันทุกวันนี้ทุกองค์กรและหน่วยงานต้องมีการจัดการข้อมูลเชิงกลยุทธ์ กระบวนการวิเคราะห์ SWOT มาใช้ในการดำเนินงานขององค์กรให้เกิดผลสำเร็จและทำการตรวจสอบโดยใช้ระบบ Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือการตรวจสอบการดำเนินงาน ผู้บริหารต้องต้องมีการบริหารที่ดีเพื่อให้ทันต่อการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว

บทที่5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา การนำแนวคิดมาทำขึ้นใหม่หรือปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้นทั้งแนวคิดวิถีในการพัฒนาสิ่งต่างๆ การพัฒนาบุคคล การพัฒนางานที่มีอยู่ในองค์กร จึงมีคำว่านวัตกรรมเกิดขึ้นมาใหม่ (Innovation) คือ การริเริ่มสร้างใหม่ ๆ และกระทำกระบวนการที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น รวมถึงภาคการศึกษาที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ จะต้องมีการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา จะทำให้การศึกษามีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการนำนวัตกรรมการศึกษาใหม่ ๆมาปรับใช้กับการศึกษามากยิ่งขึ้นซึ่งมีปัจจัยอยู่ 3 ระดับ 1)ความเป็นเลิศของบุคคล 2)ความเป็นเลิศของทีมงาน 3)ความเป็นเลิศขององค์กร หลักของนวัตกรรมการศึกษามีอยู่ 5 ประการ คือ นวัตกรรมความคิด, นวัตกรรมเป็นกุญแจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน, ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้,ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบต่อนวัตกรรม, ผู้บริหารสูงสุดต้องผูกพันและแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น แนวโน้มการสร้างนวัตกรรมในอนาคต เริ่มจากการพัฒนาในองค์กรซึ่งต้องเน้นสถาบันการศึกษา โดยการสร้างความคิด ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ ระดับบุคคล ระดับทีม ระดับองค์กร ซึ่งเป็นรากฐานนวัตกรรมในอนาคต
บทที่6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนในห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom) การจักการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ (web-based Instruction: WBI) ระบบ
e-Learning เป็นการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาการเรียนการสอนผ่านสื่อมือถือที่ เรียกว่า
M-Learaing การใช้เว็บผ่านการเรียนการสอนเป็นนวัตกรรมใหม่ใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีแต่จะนำไปใช้ในการเรียนหรือไม่ข้นอยู่กับผู้สอนและให้ความสำคัญต่อการใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- บทเรียนออนไลน์ e-Learning การสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอมการเรียนการสอนบนเว็บ (Wed-Based Learning) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียทางไกลผ่านดาวเทียม การด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์
- โมบายเลิร์นนิ่ง คือ เทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย m-learning ผ่าน โทรศัพท์มือถือ PDA และ laptop comuter โดยมี Application ที่สำคัญ เช่น มีเดียบอร์ด (MdiaBoards) การเน้นการทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อส่งและรับข้อมูลระหว่างเพื่อน ครูผู้สอน โดยส่งข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง มัลติมีเดีย เว็บไวด์ เพื่อแก้ปัญหา ที่เรียกว่า Problem-Based learning
- สวนดุสิตอินเตอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง (Suan Dusit Internet Broadcasting: SDIB ) เป็นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเพื่อเผยแพร่ความรู้การบริการความรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อสืบค้นสารสนเทศ และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อประโยชน์ในการเรียน ทำรายงาน และการจัดทำภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์

นวัตกรรมการศึกษา

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ของผู้เรียนวิชานาฏศิลป์ไทยในสถาบันอุดมศึกษา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสอนนาฏยสรรค์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ของผู้เรียนวิชานาฏศิลป์ไทยในสถาบันอุดมศึกษาและแบบวัดทางนาฏยสรรค์ เปรียบเทียบพัฒนาการของนักศึกษาในด้านความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ และทักษะในการปฏิบัติผลงานสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยระหว่างนักศึกษากลุ่มที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนปกติ ผลการวิจัย พบว่า วิธีการสอนนาฏยสรรค์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ ได้แก่ การสอนท่ารำต้นแบบ การคิดสร้างสรรค์ท่ารำอย่างอิสระ การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และการประเมินผลย้อนกลับ ประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 6 ขั้นตอนคือ การนำเข้าสู่เนื้อหา การฝึกปฏิบัติ ฝึกการสังเกตและการวิเคราะห์ การฝึกคิดประดิษฐ์ท่ารำอย่างอิสระ การนำเสนอผลงานเชิงสร้างสรรค์ การสรุปและประเมินผล แบบวัดนาฏยสรรค์ที่พัฒนาขึ้น เป็นแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำจากกระบวนการเชื่อมโยงสัมพันธ์ลีลาท่ารำ การปรับปรุงท่ารำเดิม การจินตภาพและจินตนาการ ด้านการบันทึกท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นในแบบทดสอบตามเวลาที่กำหนด ลักษณะเด่นของแบบวัดนาฏยสรรค์ คือการวัดระดับความสามารถของผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในการสร้างสรรค์ท่ารำ หาค่าบรรทัดฐานจากการทดสอบกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสาขานาฏศิลป์ไทยชั้นปีที่ 1-4 ทั่วประเทศ จำนวน 800 คน สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์เป็นวิธีการสอนที่เน้นการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับการฝึกปฏิบัติจริง เพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ สังเกต และฝึกการคิดสร้างสรรค์ท่ารำ ด้านบรรยากาศการเรียนการสอน กระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น สร้างความเชื่อมั่นในตนเองด้วยการให้นักศึกษาคิดสร้างสรรค์ท่ารำและแสดงออกอย่างอิสระ การนำรูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์ไปใช้ สรุปผลการทดลองเป็นตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ดังนี้ 1. หลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. หลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการปฏิบัติผลงานสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์และทักษะการปฏิบัติผลงานสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

อุษา สบฤกษ์. (2545). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์ที่ส่งเสริมความคิด
สร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ของผู้เรียนวิชานาฏศิลป์ไทยในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.